วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สุมุนไพรน่ารู้ คาวตอง หรือ พลูคาว และลูกยอ

ผักคาวตอง
คาวตองผักคาวตองเป็นพืชพื้นบ้านของไทย ชื่อท้องถิ่นที่เรียก มักใช้คำนำหน้าว่า ผัก เช่น ผักก้านตอง ผักคาวตอง บ่งบอกการนำไปใช้ประโยชน์ เป็นอาหาร และเรียก พลูคาว คงเนื่องจากมีใบรูปหัวใจที่คล้าย ๆ ใบพลู และมีกลิ่นคาวมาก ผักคาวตอง ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียที่เป็นถิ่นกระจายพันธุ์พืชนี้ มีการใช้ประโยชน์มานานแล้ว ทั้งเป็นอาหารและเป็นยา สำหรับยุโรปและอเมริกานั้นนิยมปลูกพันธุ์ใบด่างเป็นไม้ประดับด้วย ภูมิภาคอินโดจีน ใช้ทั้งต้นบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ แก้อาการอักเสบ แก้ลมพิษ ใบใช้ แก้บิด นอกจากใช้เป็นผัก แล้วยังใช้ต้มกับปลาหรือไข่เป็ดช่วยดับกลิ่นคาว จีน ใช้ใบหรือทั้งต้น ขับปัสสาวะ รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ ฝีอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอ และบิด ต้านเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะในระบบทางเดินหายใจ ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และอินเดีย ใช้ทั้งต้นเป็นยาลดไข้ ขจัดสารพิษ ( detoxicant ) รักษาแผลในกระเพาะ และอาการอักเสบ รวมทั้งรักษาพิษแมลงกัดต่อย ประเทศเกาหลี ยังใช้ผักคาวตองในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ( arterosclerosis ) และมะเร็ง สำหรับประเทศไทย มีการใช้ประโยชน์ผักคาวตองในยาแผนโบราณ และยาพื้นบ้าน-พื้นเมืองมานานแล้ว โดยใช้ ใบเป็นยาแก้กามโรค ทำให้น้ำเหลืองแห้ง แก้โรคผิวหนัง แก้พิษฝี ต้นแก้ริดสีดวง ผลการตรวจสอบทะเบียนตำรับยาแผนโบราณของไทย ในช่วงประมาณ 40 ปีที่ผ่านมาปรากฎการใช้ผักคาวตองในสูตรตำรับยาแผนโปราณที่กระทรวงสาธารณสุข รับขึ้นทะเบียนจำนวน 19 ตำรับ นอกจากนี้ ภาคเหนือและอีสาน ใช้เป็นอาหารประเภทผักจิ้มน้ำพริก หรือกินกับลาบ
สรรพคุณผักคาวตอง
1.ช่วยเพิ่มกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว
2.ยับยั้งทำลายเซลล์มะเร็ง-รังไข่ ปอด สมอง ลำไส้ใหญ่ เม็ดเลือดขาว
3.ยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัส ไข้หวัดใหญ่เอดส์ Hiv-1
HSV-1(Herpes simplex virus type1)
4.ยับยั้งและกำจัดแบคทีเรียและเชื้อราหลายชนิด
5.ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ปวดบวม
6.ฤทธิ์ขับปัสสาวะ
7.ฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด

ข้อมูลจากหนังสือ ผักคาวตอง. สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2546
ลูกยอ
ลูกยอ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Morinda Citrifolia Linn มีชื่อภาษาอังกฤษว่า NONI INDIAN MULBERRY เมื่อสุกเต็มที่จะมีเอนไซม์ ที่เป็นประโยชน์อย่างมากมาย ยอ เป็นพืชที่พบขึ้นอยู่หลายประเทศทั่วโลก เช่น ไทย จีน อินเดีย หมู่เกาะแปซิฟิคทางตอนใต้ ตาฮิติ ฮาวาย มาเลเซีย ฯลฯ ในประเทศไทย มีการนำส่วนต่าง ๆ ของยอมาใช้ประโยชน์ อาทิ เช่น ใบยอนำมาปรุงอาหาร ผลยอสุกใช้รับประทานได้ และมีการใช้ผสมในตำรับยาโบราณมานานหลายร้อยปี
การค้นพบสารสำคัญในลูกยอ ดร.ราฟ ไอเนกี (Dr. Ralph Heinicke) นักชีวเคมีชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง ได้ทำการวิจัยและค้นพบ เอนไซม์ในสับปะรด ซึ่งเป็นอัลคาลอยด์ชนิดหนึ่งเขาตั้งชื่อไว้ว่า เซโรนีน (Xeronine) นับแต่ปี ค.ศ. 1950 และได้มีการศึกษาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จนพบว่ามีสารนี้ในลูกยอมากกว่าในสัปปะรดหลายสิบเท่า และได้มีการวิจัยอย่างต่อเนื่อง จนรู้ถึงคุณประโยชน์อันน่าอัศจรรย์ของน้ำลูกยอ และเป็นประโยชน์ทางการแพทย์ ดังนี้
สรรพคุณลูกยอ 1. สร้างเสริมปฏิกิริยาชีวเคมีในเซลล์ให้ดีขึ้น ฟื้นฟูเซลล์ที่เสื่อมโทรม ซ่อมแซมเซล์ที่ถูกทำลาย เพิ่มพลังในเซลล์ทำให้มีกำลังและขจัดสารพิษในเซลล์ 2. ช่วยสังเคราะห์สารโปรตีนในร่างกาย ทำให้ระบบฮอร์โมนในร่างกายดีขึ้น และเป็นผลดีต่อต่อมต่าง ๆ ในร่างกายทำให้ทำงานดีขึ้น 3. มีสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของร่างกาย และต่อต้านมะเร็ง 4. ลดระดับน้ำตาลในคนไข้เบาหวาน 5. ลดความดันโลหิตสูง 6. ต่อต้านเซลล์มะเร็ง และเสริมภูมิต้านทานโรคโดยการกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวเพื่อต่อต้านเซลล์มะเร็งและเชื้อโรคต่าง ๆ 7. ลดและบรรเทาการอักเสบของเซลล์ ลดและบรรเทาโรคภูมิแพ้ 8. มีวิตามิน แร่ธาตุ อะมิโนแอซิด ช่วยเสริมอาหารและเพิ่มพลังงานใน ร่างกาย 9. ระงับความเจ็บปวด และบรรเทาอาหารปวดซ้ำ 10. ช่วยสมานแผล ทำให้แผลหายเร็ว 11. ป้องกันและลดอาการของโรคภูมิแพ้

1 ความคิดเห็น:

alcoholxx กล่าวว่า...

เราสามารถนำลูกยอมารักษา แผล หรือ รักษาและป้องกันเห็บ หมัด ของสุนัขได้หรือเปล่าครับ